Ticker

6/recent/ticker-posts

สมโภชสรงน้ำหลวงพ่อพระใส 2557


วันที่ 13 เมย 2557   วัดโพธิ์ชัย 

จังหวัดหนองคาย เทศบาลเมืองหนองคาย และวัดโพธิ์ชัย กำหนดจัดงานประเพณีมหาสงกรานต์อีสานหนองคาย ประจำปี 2557 เพื่อสมโภชและสรงน้ำหลวงพ่อพระใส และอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของไทยและชาวอีสาน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย ระหว่างวันที่ 6-18 เมษายน 2557 ณ เทศบาลเมืองหนองคาย และวัดโพธิ์ชัย


กิจกรรมที่น่าสนภายในงานเทศกาลมหาสงกรานต์หนองคาย ประจำปี 2557 ประกอบด้วย วันที่ 6-18 เมษายน 2557 บริเวณเทศบาลเมืองหนองคาย มีพิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การประกวดญาแม่สงกรานต์ ขบวนแห่รถบุปผชาติ การประกวดกลองยาวมหาสงกรานต์อีสานหนองคาย อุโมงค์น้ำถนนพญานาค การแสดงบนเวทีและมหรสพสมโภชตลอดงาน และวันที่ 10-18 เมษายน 2557 งานเทศกาลตรุษสงกรานต์ และสมโภชสรงน้ำหลวงพ่อพระใส ณ วัดโพธิ์ชัย โดยจะมีพิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระใสประดิษฐานบนราชรถแห่รอบเมืองและพิธีเวียนเทียนสมโภชหลวงพ่อพระใส พิธีฟ้อนถวายหลวงพ่อพระใส การประกวดเทพีสงกรานต์ เทศน์มาลัยหมื่น-มาลัยแสน แห่ข้าวพันก้อน เทศน์สังกาสและเทศน์มหาชาติ การประกวดก่อเจดีย์ทราย พร้อมทั้งกิจกรรมรื่นเริงตลอดงาน
ททท.สำนักงานอุดรธานี จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและผู้สนใจทุกท่านร่วมงาน “ประเพณีมหาสงกรานต์อีสานหนองคาย ประจำปี ๒๕๕๗ ระหว่างวันที่ 6-18 เมษายน 2557 นี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานอุดรธานี โทร. 042-325-406-7 ศูนย์บริการข่าวสารนักท่องเที่ยวหนองคาย โทร. 042-421-326 หรือ www.tourismthailand.org เทศบาลเมืองหนองคาย โทร. 042-420-574 วัดโพธิ์ชัย โทร. 081-975-3751, 081-954-1627



พระใส  CREDIT : http://th.wikipedia.org/wiki/พระใส
ชื่อเต็ม    พระใส
ชื่อสามัญ    หลวงพ่อพระใส
ประเภท    พระพุทธรูป
ศิลปะ    ปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง
ขนาด
• ความกว้าง • ความสูง    
2 คืบ 8 นิ้ว 4 คืบ 1 นิ้ว

วัสดุ    ทองสีสุก (ทองเหลือง)
สถานที่ประดิษฐาน    พระอุโบสถ วัดโพธิ์ชัย
ความสำคัญ    พระพุทธรูปสำคัญ ของจังหวัดหนองคาย
หมายเหตุ    

หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณ์งดงามมาก ขนาดหน้าตัก กว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว สวนสูงจากพระสงฆ์เบื้องล่างถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว ของชางไม้ ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย(พระอารามหลวง) เป็นพระพุทธรูปที่ชาวจังหวัดหนองคายนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มากและเป็น ที่เคารพสักการะอย่างยิ่ง







“วัดโพธิ์ชัย” (พระอารามหลวง) เดิมชื่อ “วัดผีผิว” เนื่องจากวัดนี้เคยใช้เป็นที่เผาผีหรือเผาศพ และว่ากันว่ามีผีดุ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดโพธิ์ชัยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แล้วยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2524 

เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ในเขตเทศบาลเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ชาวเมืองหนองคายนับถือกันมาก หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีลักษณะงดงาม ตำนานเล่าว่า พระธิดา 3 องค์ของกษัตริย์ล้านช้างได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของตนเอง คือ พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง และพระใสประจำน้องสุดท้อง เดิมประดิษฐานที่กรุงเวียงจันทน์
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามลงเรือข้ามฝั่งมายังเมืองหนองคาย แต่เกิดพายุพัดพระสุกจมน้ำหายไป ส่วนพระเสริมและพระใสได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หนองคาย จนในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้อัญเชิญพระเสริมลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ส่วนพระใสยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ทุกปีในวันเพ็ญกลางเดือน 7 ชาวเมืองหนองคายจะมีงานประเพณีบุญบั้งไฟบูชาพระใสที่วัดโพธิ์ชัยเป็นประจำ

การเดินทาง 

    การเดินทางสู่ วัดโพธิ์ชัย หลวงพ่อพระใส : ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตัวเมืองหนองคายไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตามทาง หลวงหมายเลข 212 ทุ่งไปทาง อ.โพนพิสัย



ประวัติการอัญเชิญองค์หลวงพ่อพระใส  
CREDIT : http://th.wikipedia.org/wiki/พระใส


                     มีคำบอกเล่าว่า คราที่อัญเชิญมานั้น ไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์โดยตรงแต่อัญเชิญมาจากภูเขาควาย ซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ การอัญเชิญนั้นได้ประดิษฐานหลวงพ่อทั้งสามไว้บนแพไม้ไผ่ล่อง มาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอียงชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพไม่สามารถ ที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา




   ครั้นล่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขง ตรงปากงึม เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่างๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก”ตั้งแต่นั้นมา ด้วยเหตุข้างต้น การอัญเชิญครั้งนี้จึงเหลือแต่พระเสริม และพระใสมาถึงหนองคาย สำหรับพระเสริมนั้นได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสได้ อัญเชิญไปไว้ยังหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ณ ปัจจุบัน




    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพฯ ขุนวรธานีจะอัญเชิญพระใสไปพร้อมกับพระเสริมด้วย แต่เกิดปาฏิหารย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตาม จนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเมื่ออธิษฐานดัง กล่าวพอเข้าหามเพียงไม่กี่คนก็อัญเชิญพระใสมาได้





Post a Comment

0 Comments